ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์. (2565) ภาวะผู้นำดิจิทัล (Digital Leadership). มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. กรุงเทพฯ.

MUSTER- Digital Leadership

สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ความคิด ประสบการณ์ ความเป็นตัวตน การรับรู้ นิสัยใจคอของตนเองและคนที่อยู่ด้วยไปอย่างมาก ความรู้สึกประสบผลสำเร็จ และพึงพอใจในผลงานตนเอง การลงมือค้นคว้าสร้างความรู้ทำให้เพิ่มพูนความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ (self-esteem) สนับสนุนภาวะผู้นำดิจิทัลให้สามารถเป็นมนุษย์ที่ “รู้เท่าทัน” ทั้งตนเองและฝึกสมาชิก ได้ 5 ประการ ดังต่อไปนี้

(1) การเปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดเดาไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ เช่น ก) ปัญญาประดิษฐ์ AI (artificial intelligence) ข) อัลกอริธึม (algorithm) ค) Internet of Things (IoTs) ง) 5G จ) VR AR MR ฉ) Quantum Computing เป็นต้น ที่ส่งผลต่อชีวิตของมนุษย์ในโลกดิจิทัล

(2) ชีวิต ความเปราะบางของการใช้ชีวิตด้วยอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์มากขึ้นในช่วงกระแสพัฒนาการของแพลตฟอร์มดิจิทัล การนำ “ชีวิตที่สำคัญที่สุด” ไปแลกหรือปกป้องกับวัตถุที่มีค่าน้อยกว่าในโลกดิจิทัล และเทียบไม่ได้กับชีวิตที่ยังมีศักยภาพสร้างคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความบอบบางของการไม่รู้เท่าทันการใช้ชีวิต ที่ต้องรู้จักใจตนเองให้มากอย่างมี “สติ”

(3) ใจตนเอง เป็นที่ทราบกันว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นักเศรษฐศาสตร์ ระบุถึงพฤติกรรมมนุษย์ที่มีความเอนเอียงในหัวใจเป็นอย่างมาก มีความสามารถในการปรับตัวได้สูงจนอาจทำให้เกิดปัญหาได้มากเช่นกัน มนุษย์ต้องตัดสินใจด้วยข้อมูลที่พอมี พอดี การดูแลจิตใจให้พึงใจกับสิ่งที่มีอยู่อย่างไม่กระวนกระวายใจ ไม่แสวงหาของใหม่จากการบริโภคอย่างไม่รู้จบสิ้น เปลี่ยนไปเรื่อยจากการปลุกระดมของสังคมดิจิทัล ด้วยเหตุสำคัญอย่างยิ่งคือ มนุษย์เลือกที่จะรับรู้รับทราบตามที่ตนเชื่อและต้องการ หลายครั้งก็ทำให้ไม่เท่าทันผู้อื่น

QUESTION MUST ASK?

(4) มนุษย์ด้วยกัน การศึกษาได้สอน “วิชา” หนักหน่วง แต่สอน “ชีวิต” ไม่มาก ทำให้หลายคนไม่รู้เท่าทันเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ไม่รู้จักคบเพื่อน อ่านคนไม่ออก อีกทั้ง “อ่านตนเอง” ไม่ได้ ที่สำคัญมากที่สุดคือ การไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร เพราะชีวิตอยู่ในการเรียนมากจนมิได้เรียนรู้ชีวิต ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อต้องไปทำงาน ไม่รู้เท่าทันคนอื่น ถูกชักนำ ถูกหลอก ไม่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของคนอื่นและในสถานการณ์อื่น ๆ ด้วยเหตุไม่เคยฝึก “อ่านคน อ่านตน” ต้องใช้ “เวลา” ที่ต้นทุนที่ต้องเจ็บใจ จนไร้ค่ามนุษย์

(5) การต้องการมีคุณค่าของมนุษย์ (human values) ในบริบทที่ผลิกผัน ผันผวน การมีคุณธรรมประจำใจ การชื่นชมศรัทธา ความงาม และความจริง ถ้าไม่ยึดมั่นหลักการประจำใจ ไม่ช้านานความเดือนร้อนจะเข้ามาในชีวิตจนอาจหาความสุขและความก้าวหน้าได้ยากขึ้น การยึดหลัก human centric ในการดำเนินงาน แม้ดิจิทัลจะพัฒนาไปล้ำเลิศ การมี civility (การมีมารยาท มีความสุภาพ อ่อนโยน ให้เกียรติผู้อื่น) การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อมีความรู้สึกร่วมเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathy)

1M=MUST

///// ขอบคุณครับ :)

--

--